"โขน" มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานของไทย มีปรากฏมาตั้งแต่สมัยอยุธยา, ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่า เป็นการประยุกต์มาจากการแสดง ๓ ชนิด คือ "ชักนาคดึกดำบรรพ์", "หนังใหญ่" และ "กระบี่กระบอง" ซึ่งเรื่องที่นิยมเล่นมากที่สุดคือเรื่อง "รามเกียรติ์" หรือ "รามยณะ" มหากาพย์ของ "ฤาษีวาลมิกิ" นักบวชใน "ไวษณพนิกาย" (นิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด) เมื่อราวกว่า ๒,๐๐๐ ปีก่อน เป็นเรื่องราวการอวตารภาคหนึ่งของ "พระนารายณ์" ลงมาปราบยุคเข็ญบนโลกมนุษย์ โดยอวตารมาเป็น "พระราม" ส่วนบทละครที่เล่นในปัจจุบันมีการประยุกต์มาจากบทพระราชนิพนธ์ในสมัยรัชกาลที่ ๖
ซึ่ง "โขนนางลอย" ที่เพิ่งแสดงผ่านไปนี้ เป็นไปตามพระราชเสาวณีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงตระหนักถึงคุณค่าของการแสดงชั้นสูงที่เป็นศิลปะประจำชาติของไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างมีการจัดสร้างพัสตราภรณ์ และอุปกรณ์ประกอบฉากขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ศิลปะตระกูลช่างต่างๆ ของไทยเอาไว้ รวมทั้งการคัดเลือกนักแสดงตัวเอกที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ ให้มีโอกาสสัมผัสกับศิลปวัฒนธรรมตามแบบประเพณีโบราณ และยังได้เพิ่มเทคนิคฉากและเวทีสมัยใหม่ เช่น การใช้เวทีหมุน เป็นครั้งแรกในการแสดงโขน การชักรอกตัวแสดงในฉาก "นางเบญกายถูกเผา" การใช้แสงให้ดูสมจริง เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมและให้มีความงดงามมากขึ้น
"ศิลปะวัฒนธรรม" เป็นเครื่องบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมาของชนชาตินั้นๆ และในฐานะที่เราเป็นคนไทย ควรภูมิใจและต้องมีส่วนช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ถูกต้องและดีงามของชาติให้ดำรงคงอยู่สืบไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และไม่ปล่อยใจไหลไปกับ "คลื่นวัฒนธรรมต่างชาติ" ที่ถาโถมเข้ามาตาม "กระแสแห่งโลกาพิวัฒน์" จนลืมรากเหง้าตัวตนของเราเองไปหมดสิ้น เพราะถ้าถึงวันนั้นเราคงไม่สามารถบอกกับใครๆ ได้ว่าเราเป็น "คนไทย"
------------------------------------------------------
ซึ่ง "โขนนางลอย" ที่เพิ่งแสดงผ่านไปนี้ เป็นไปตามพระราชเสาวณีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงตระหนักถึงคุณค่าของการแสดงชั้นสูงที่เป็นศิลปะประจำชาติของไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างมีการจัดสร้างพัสตราภรณ์ และอุปกรณ์ประกอบฉากขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ศิลปะตระกูลช่างต่างๆ ของไทยเอาไว้ รวมทั้งการคัดเลือกนักแสดงตัวเอกที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ ให้มีโอกาสสัมผัสกับศิลปวัฒนธรรมตามแบบประเพณีโบราณ และยังได้เพิ่มเทคนิคฉากและเวทีสมัยใหม่ เช่น การใช้เวทีหมุน เป็นครั้งแรกในการแสดงโขน การชักรอกตัวแสดงในฉาก "นางเบญกายถูกเผา" การใช้แสงให้ดูสมจริง เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมและให้มีความงดงามมากขึ้น
"ศิลปะวัฒนธรรม" เป็นเครื่องบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมาของชนชาตินั้นๆ และในฐานะที่เราเป็นคนไทย ควรภูมิใจและต้องมีส่วนช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ถูกต้องและดีงามของชาติให้ดำรงคงอยู่สืบไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และไม่ปล่อยใจไหลไปกับ "คลื่นวัฒนธรรมต่างชาติ" ที่ถาโถมเข้ามาตาม "กระแสแห่งโลกาพิวัฒน์" จนลืมรากเหง้าตัวตนของเราเองไปหมดสิ้น เพราะถ้าถึงวันนั้นเราคงไม่สามารถบอกกับใครๆ ได้ว่าเราเป็น "คนไทย"
------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น